ระวัง! 9 เช็คลิส social media ตัวร้าย ที่จะทำให้คุณไม่ได้งาน

25 กันยายน 2019
หากคุณจะบอกว่า Social Media เป็นอวัยวะที่ 34 ของคุณไปแล้วก็คงไม่ได้ผิดอะไรอะมากนัก เพราะปัจจุบันเราใช้ทั้งการติดต่อสื่อสาร ใช้เป็นพอร์ทผลงาน แม้แต่ส่งไฟล์ถึงกันและกันก็ยังได้ แถมยังมีตัวเลือกให้ใช้งานได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Linkedin และ IG นี่จึงเป็นเหตุหลักข้อหนึ่งที่ทำให้ HR และหัวหน้าสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น องค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ไม่เว้นแม้แต่หางานพาร์ทไทม์ มักจะขอชื่อบัญชี Social Media ของเรา เพราะอยากทำความรู้จักเรามากขึ้นจากตัวตนที่แสดงออกบนโลกออนไลน์นั้นเอง
,,
แต่การที่ HR เริ่มนิยมหันมาทำความรู้จักคุณด้วยวิธีนี้เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะถ้าสิ่งที่โพสต์อยู่ในโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่ดีก็จะยิ่งทำให้เราเป็นผู้สมัครที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น แต่หาก Social Media ของเราเต็มไปด้วยเรื่องไม่ดี ข้อความมีการด่าท่อ มีโอกาสที่คุณจะพลาดการได้งานเหมือนกันนะวันนี้ Daywork เลยนำทริกให้ทุกคนรีเช็คตัวเองว่า คุณเข้าเกณฑ์ข้อไหนหรือไม่ ถ้าใช่! ก็จะสามารถป้องกันได้ทัน
,,
1. ปาร์ตี้จนโลกหลุด ภาพว่อนโซเชียล!
,หากคุณกำลังสงสัยว่าการที่ดื่มสังสรรค์ หรือปาร์ตี้สุดเหวี่ยงคือเรื่องที่ผิด ป่าวเลยไม่ได้ผิดอะไร แต่ถ้าไม่อยากให้ถูกเทรวมในส่วนของการกรองคัดทิ้ง ก็อย่าใช้รูปเหล่านั้นมาเป็นรูปโปรไฟล์ หรืออัปโหลดขึ้น Social Media ในช่วงที่คุณกำลังจะหางาน เพราะมันอาจจะแสดงถึงตัวตนของคุณมากเกินไป
,,
2. ชอบแชร์! โพสต์ที่เสี่ยงเข้าคุกเข้าตาราง
,การแชร์โพสต์ต่างๆ หรือแม้กระทั้งการโพสต์ด้วยตัวเองมักจะเกิดจากกิจกรรมที่มาจากความคึกคะนองและโพสลงใน Social Media แบบชั่ววูบก็อาจเสี่ยงต่อการผิดกฏหมายได้ เราต้องระวังจุดนี้ให้ดีเพราะถ้าบริษัทเข้ามาเช็กย้องหลังก็จะทำให้พลาดโอกาสได้งานไปอย่างน่าเสียดาย เดียวหาว่า Daywork ไม่เตื่อน…
,,
3. ภาษาไทยควรค่าแด่การอนุรักษ์ งดใช้ภาษาวิบัติในโลกออนไลน์
,หากคุณพบว่ามีคนใช้ ค่ะ กับ คะ ไม่ถูกต้องแล้วรู้สึกหงุดหงิด HR ก็เช่นเดียวกันแต่ในทางกลับกันหากเขาพบว่าคุณใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยน ภาษาวิบัติ หรือเขียนภาษาสก๊อยก็อาจะเป็นเหตุผลสำคัญที่บริษัทจะคัดเราออกอย่างรวดเร็ว เพราะการใช้ภาษาวัยรุ่นหรือการแชทแบบหยาบคายในโลกออนไลน์ อาจทำให้บางบริษัทเห็นแล้วรู้สึกไม่ดีและไม่อยากรับคุณทำงานก็ได้
,,
4. โกหกเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงาน
,เมือคุณจะยืนสมัครงานคุณคงเตรียมตัวเขียนเรซูเม่ให้โดนใจ HR ไว้แล้วละะแต่เวลาเขียนประสบการณ์การทำงานควรเป็นไปอย่างซื่อสัตย์ เพราะมันจะดูแย่ทันทีถ้าบริษัทรู้ว่าประสบการณ์ทำงานของเราในโลกออนไลน์ที่ระบุไว้ใน Facebook ก็ดี ไม่เหมือนกับชีวิตจริงนั้นต่างกัน ก็คงทำให้ดูแย่…
,,
5. โพสต์หรือแชร์ภาพนู้ดในโซเชียลมีเดียของตัวเอง!
,มันก็คงไม่ผิดที่คุณชื่นชอบอะไรแบบนี้ เพราะมันคือพื้นที่ส่วนตัวของคุณ หรือแม้อีกมุมหนึ่งก็อาจจะมีความคิดที่ว่า ภาพนู้ดจะเป็นศิลปะ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่มองเห็นความสวยงามในแบบเดียวกัน ถึงเราจะมองว่ารูปลักษณ์แบบนี้สวยแล้ว แต่ถ้ามองในมุมภาพลักษณ์ขององค์กรก็อาจจะเป็นปัญหาได้ ยิ่งถ้าคุณเจอ HR สายหัวแข็งโบราญก็จะเป็นงานยากสำหรับคุณไปอีก เพราะฉนั้นอาจจะต้องจัดการโซเชียลมีเดียของคุณให้เรียบร้อยก่อนสมัครงานแล้วละ!
,,
6. โซเชียลมีเดียถูกทิ้งร้างเอาไว้
,ปัจจุบันใครไม่มีโซเชียลมีเดียคงเชยมากๆ ถ้าไม่นับข้อเสียการแต่การมีโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ถ้ามันถูกทิ้งร้างแล้วล่ะก็อาจจะทำให้กลายเป็นอีกจุดด้อยทันทีที่มีคนจากองค์กรเข้าไปดูเพราะถ้าเราไม่มีปฏิสัมพนธ์กับใครเลย บางครั้งบริษัทก็จะเลือกที่จะไม่เสี่ยงจ้างเราเนื่องจากมีข้อมุลไม่เพียงพอนั่นเอง
,,
7. ลาป่วย (ที่ไม่ป่วย) แต่ยังอัปเดตโซเชียล
,เอาจริงหลายๆคนก็คงคิดว่าไม่มีใครมานั้งจับผิดหรอกเพราะการเจ็บป่วยเป็นเรื่องปกติของคนทำงาน ไม่มีใครแข็งแรงทำงานต่อเนื่องได้ 365 วัน แต่ถ้าคุณมีเพื่อนในบริษัทหรือคนสำคัญที่ทำงานเป็นเพื่อนในพวกสื่อโซเชียลมีเดียของคุณ แล้วแอบดันเผลอเห็นคุณเช็คอิน ลงรูปเข้าคาเฟ่ไปนั้งชิลล์ แบบนี้อาจจะทำให้บริษัทไม่ได้คิดว่าคุณป่วยจริง
,,
8. วิจารณ์ที่ทำงานเก่าลงโซเชียลมีเดีย
,ถามจริงมันก็คงเป็นเรื่องที่ผ่านมานานมากแล้ว แต่การที่คุณนำบริษัทเก่ามาพูดถึงในแง่เสียๆหายๆ ลงโซเชียลมีเดีย ด้วยอารมย์โกรธและมีทัศนคติที่แย่ ซึ่งมันไม่ควรเลยที่จะเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ เพราะนอกจากจะไม่เกิดผลดีแล้ว ยังทำให้ภาพลักษณ์ของเราติดลบไปด้วย ต้องระวังให้ดีถ้าจะระบายแนะนำว่าควรระบายกับคนที่ไวใจได้นะคะ ไม่ต้องเอาลงโซเชียลเด็ดขาดดดด
,,
9. ชอบแสดงความคิดเห็นด้วยอารมณ์ร้ายๆ
,ในโลกที่รับข่าวสารและพูดคุยกันอย่างรวดไม่แปลกเลยที่การแสดงความคิดเห็นจะเกิดขึ้นประจำบนโลกดซเชียล การโพสต์อะไรลงไปอย่างหนึ่งอย่างย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะแฟนเพจหรือบุคคลสาธารณะ สิ่งที่เราต้องระวังคือการแสดงความคิดเห็นควรมีขอบเขต ไม่ใช้อารมย์ความรู้สึกตัวเองมากเกินไป และต้องไม่เป็นที่รังเกียจต่อสังคมโดยรวมด้วย คุณอาจจะคิดว่ามันเป็นสิทธิของคุณในการแสดงความคิดเห็น แต่ถ้า HR มาเห็นคุณก็อาจจะโดนเขี่ยทิ้งทันที เพราะมันบ่งบอกอะไรได้หลายๆอย่าง เช่น คุณอาจจะเป็นคนที่ไม่สามารถควบคุมอารมย์ตัวเองได้
,,
หากสนใจอ่านบทความเพิ่มเติม คลิก!!
,แกะรอย 5 สาเหตุ! เด็กจบใหม่ทำไมหางานยากจัง
,อยู่บ้านก็ได้เงิน! พาส่อง 5 งานพาร์ทไทม์ทำที่บ้าน ไม่ต้องเดินทาง
,เผย! 5 เหตุผล ที่อาชีพฟรีแลนซ์อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน
,,
ติดตามข่าวสารของเราได้ที่
,Facebook: daywork.th
,LINE: @daywork
,Twitter: @DayworkOfficial
,