แจกวิธีการทำบัตรทอง พร้อมขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์

21 December 2022
ครบหมด จบทุกเรื่องบัตรทอง! สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังมีข้อสงสัยว่ามันคืออะไร ต้องสมัครแบบไหน หรือตรวจสอบสิทธิ์ยังไง สามารถเช็กข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่ !
สำหรับ บัตรทอง หรือ บัตรสวัสดิการถ้วนหน้า ก็คือ บัตรที่ทางสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. ออกให้คนไทยทุกคนได้ใช้ในการรักษาฟรี ยกเว้นว่าจะมีสิทธิประกันสังคม หรือบัตรข้าราชการอื่นๆ
คุณสมบัติผู้ที่สามารถทำบัตรทองได้
- 1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
- 2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- 3. ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ที่ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรัฐ (ประกันสังคม สิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการสิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น ครูเอกชน รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง)
คนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือ สิทธิบัตรทอง
- 1. เด็กแรกเกิด ที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการจากบิดามารดา
- 2. บุตรข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไปหรือ บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส)และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ
- 3. บุตรข้าราชการตั้งแต่คนที่ 4 ขึ้นไป (สิทธิข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน)และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ
- 4. ผู้ประกันตนที่ขาดการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
- 5. ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากราชการโดยมิได้รับบำนาญ
- 6. ผู้ประกอบอาชีพอิสระและไม่ได้เป็นผู้ประกันตน
บัตรทอง ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เพียงยื่นบัตรประชาชน ก็สามารถเข้ารับการตรวจรักษาที่มีคุณภาพได้กับโรงพยาบาลรัฐ และหน่วยงานเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ครอบคลุมการรักษาเกือบทุกกลุ่มโรค ตั้งแต่การคลอดลูก การผ่าตัด การทำหมัน การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ รักษาโรคร้าย มะเร็ง เบาหวาน รวมไปจนถึงการถอนฟัน อุดฟัน การทำฟันปลอม ให้สิทธิค่าห้อง ค่าอาหาร คุ้มครองดูแลสุขภาพเด็ก รวมถึงให้บริการคำปรึกษาด้านสุขภาพอีกด้วย
บัตรทองไม่คุ้มครองอะไรบ้าง?
บัตรทองไม่คุ้มครองการรักษาในระดับเกินความจำเป็นพื้นฐาน เช่น การผสมเทียม การทำเลเซอร์รักษาสิว ทำศัลยกรรมความงาม การแปลงเพศ หรือโรคเรื้อรัง เป็นต้น
วิธีสมัครบัตรทอง
1. เตรียมเอกสารดังนี้
- 1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าผู้ทำบัตรทองเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร)
- 2. สำเนาทะเบียนบ้าน
** กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ใช้เอกสารเพิ่ม 2 อย่าง ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย และหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนว่าได้ไปพักอยู่อาศัยจริง
2. ตรวจสอบสถานพยาบาลบัตรทองใกล้บ้าน
3. ตรวจสอบสถานะการสมัคร และสถานพยาบาลที่เกิดสิทธิ
สามารถทำบัตรทองได้ที่ไหนบ้าง?
ปัจจุบันสามารถเลือกเดินทางไปทำบัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ที่สถานพยาบาลบัตรทองใกล้บ้านตามที่สำนักงานกำหนด หรือผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน สปสช
วิธี "ตรวจสอบสิทธิบัตรทอง" ด้วยตนเอง
1. ระบบอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ คลิ๊ก หรือ https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
2. ไปติดต่อด้วยตัวเอง ที่ โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงาานเขต กทม.(19 เขต) และ สปสช. เขตพื้นที่ 1-13
3. โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2 ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลักและเครื่องหมาย #
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสิทธิ์ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีเกิดโรคเรื้อรัง หรือโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งอาจกระทบกับเงินเก็บทั้งหมดที่มี หรือต้องกู้หนี้ยืมสินได้ ฉะนั้นใครที่ไม่มีสิทธิประกันสังคม ก็สามารถมาสมัครสิทธิ์บัตรทองเอาไว้ เพื่อเพิ่มความอุ่นใจในยามเจ็บไข้ ก็จะทำให้เซฟเงินได้มากกกว่า!
ติดตาม Daywork ได้ที่ช่องทาง
Facebook : www.facebook.com/daywork.th
Website : www.daywork.co
Linkedin : www.linkedin.com/company/daywork-thailand
Blockdit : www.blockdit.com/dayworkthailand