7 เช็คลิสตรวจสอบงาน ไม่ให้โดน มิจฉาชีพหลอกแน่นอน !

11 January 2023
เยอะแยะจนแยกไม่ออก และมาในหลากหลายรูปแบบมากๆ สำหรับมิจฉาชีพ ที่ไม่ว่าจะเป็น แก็งค์คอลเซ็นเตอร์ หรือมาในรูปแบบ โพสต์สมัครงานต่างๆ ที่คนหางานต้องเช็กกันให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจสมัครงานออนไลน์ เพราะไม่งั้นอาจจะถูกหลอกให้เสียเงิน เสียความรู้สึก และเสียเวลาโดยที่ไม่ได้ทำงานที่อยากทำจริงๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนได้ระมัดระวัง ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ Daywork ก็มีวิธีดีๆ ที่จะช่วยตรวจสอบ และป้องกันการโดนหลอกมาแชร์กันด้วย!
7 เช็คลิสตรวจสอบงาน ให้ไม่โดนมิจฉาชีพหลอกแน่นอน !
- สังเกตรายละเอียดงานที่โพสต์ประกาศ
- คำโฆษณาที่น่าดึงดูดใจ
- ช่องทางการติดต่อ
- ภาษาในประกาศสมัครงาน
- เสียค่าสมัคร หรือค่าอบรม
- เช็กให้ชัวร์อีกทีว่าบริษัทที่ประกาศรับสมัครงานมีอยู่จริง
- เลือกสมัครงานกับช่องทางที่น่าเชื่อถือ
โดยสามารถ อ่านรายละเอียดใน บทความด้านล่างต่อได้เลย
1. สังเกตรายละเอียดงานที่โพสต์ประกาศ
อย่างแรกเลย พอเจอโพสต์ประกาศสมัครงาน ให้สังเกตที่รายละเอียดงานก่อนว่าครบถ้วนมั้ย ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัท สถานที่ทำงาน ตำแหน่งที่รับสมัคร เงินเดือน ลักษณะ หรือรายละเอียดของงาน ช่องทางการติดต่อ อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์สำนักงาน หรือชื่อผู้ติดต่อที่เชื่อถือได้ เมื่อดูรายละเอียดทั้งหมดนี้แล้ว เราจะเห็นภาพคร่าวๆ ว่างานนั้นเป็นแบบไหน แต่ถ้ายังรู้สึกว่าอ่านแล้วงงๆ รายละเอียดงานมีความคลุมเครือ ข้อมูลไม่ครบ ก็อย่าเพิ่งวางใจ หรือรีบสมัครงานนั้นเป็นอันขาด
2. คำโฆษณาที่น่าดึงดูดใจ
หลายคนคงเคยตกหลุมพลางคำโปรยโฆษณาชวนเชื่อ เช่น งานสบาย รายได้ดี แค่มีมือถือก็ทำงานได้ รายได้วันละ 3,000 -10,000 บาท ทำงานต่างประเทศรายได้ดีมาก ซึ่งถ้ามีงานแบบนี้จริงๆ ก็คงมีคนแห่ไปทำกันหมดแล้ว ไม่มีคนว่างงานอย่างแน่นอน โดยงานแบบนี้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานประเภทเครือข่าย ชวนคนไปอบรมแล้วสมัครเป็นลูกโซ่มากกว่า
3. ช่องทางการติดต่อ
โดยส่วนใหญ่แล้วมิจฉาชีพจะชอบให้เราแอดไลน์ไป เพื่อคุยรายละเอียดงานต่างๆ และสังเกตว่าชื่อ LINE จะเเปลกๆ เช่น @697aeuke ถ้าเป็นบริษัทน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และมีตัวตนจริง จะให้ส่งประวัติผ่านทางอีเมล์ ถ้าเป็นไลน์ก็จะเป็นชื่อบริษัท
4. ภาษาในประกาศสมัครงาน
ทุกครั้งที่อ่านโพสต์ประกาศสมัคงาน ให้ลองสังเกตการเขียนประกาศให้ดีๆ ด้วยว่าภาษาน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยประกาศสมัคงานที่เป็นของจริง จะต้องมีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ไม่พิมพ์ผิด และเป็นทางการ
5. เสียค่าสมัคร หรือค่าอบรม
หลายๆ คนเจ็บกันมาไม่น้อย กับการสมัครงานต่างๆ ที่มีชื่อตำแแหน่งสวยหรูอย่าง ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่การตลาด ฟังแล้วไม่ว่าใครก็สนใจแน่นอน แต่พอไปถึงแล้วดันต้องเสียค่าอบรมอื่นๆ อีก มีตั้งแต่หลัก 500 – 12,000 บาท ให้จำไว้เลยว่าปกติจะไม่มีบริษัทไหนที่จะต้องเสียเงินก่อนเริ่มงาน ถ้ามีก็คงจะเป็นแค่ค่าตรวจสุขภาพ หรือตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ไม่ใช่ค่าอบรม หรือค่าสมัครงาน
6. เช็กให้ชัวร์อีกทีว่าบริษัทที่ประกาศรับสมัครงานมีอยู่จริง
ถึงเราจะเช็กจนแน่ใจในระดับนึงแล้ว ว่าเป็นบริษัทมีอยู่จริง และน่าเชื่อถือ ก็อย่าเพิ่งรีบสมัครจนกว่าจะรู้ว่าบริษัทนี้ กำลังประกาศหาพนักงานในตำแหน่งนี้จริงๆ โดยสามารถเข้าไปดูในแพลตฟอร์มหางานออนไลน์ เพื่อเช็กว่ามีประกาศงานในตำแหน่งที่เราเห็นจากโพสต์ก่อนหน้านี้อยู่จริงรึเปล่า หรือถ้าในโพสต์ประกาศงานที่เราเห็นตอนแรกมีแนบเบอร์โทรติดต่อกลับเอาไว้ในโพสต์ ก็ควรโทรไปถามเพื่อความแน่ใจเลยก็ได้ แต่ก่อนจะโทรอย่าลืมเช็กหมายเลขที่ได้มาให้ดีก่อนว่าเป็นเบอร์ของบริษัทนั้นจริงๆ
7. เลือกสมัครงานกับช่องทางที่น่าเชื่อถือ
นอกจากอ่านรายละเอียดงานแล้ว เราต้องดูให้ดีว่าโปรไฟล์ของคนที่ลงโพสต์ประกาศงาน มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เพราะในโลกออนไลน์เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่ากำลังคุยกับใครอยู่ รูปโปรไฟล์ คือรูปตัวเขาเองจริงๆ หรือเปล่า ควรตรวจสอบว่าบัญชีนั้น มีความน่าเชื่อถือพอจะเป็น HR หรือคนประกาศงานมั้ย
และสำหรับใครที่กำลังสนใจงานออนไลน์ นอกจากการหางานทางเว็บไซต์ต่างๆ แล้ว ยังสามารถมาถสมัครงานได้ที่ แอพพลิเคชั่น Daywork ที่มีการตรวจสอบทุกบริษัทที่ลงประกาศสมัครงานอย่างละเอียด และรวบรวมตำแหน่งงานมาให้เลือกสมัครกันอย่างหลากหลาย มั่นใจ และตรวจสอบได้ มีรายละเอียดที่ชัดเจน ครบถ้วน ไม่ต้องเสียเวลา หมดปัญหาเรื่องโดนมิจฉาชีพหลอกแน่นอน!