7 วิธีออมเงินง่ายๆ เงินเดือนน้อย ใช้เงินเก่งยังไง ก็เก็บเงินอยู่!

03 April 2023
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเก็บเงินได้คราวละมากๆ เสมอไป เพราะเงินเดือนที่แต่ละคนได้รับมาในแต่ละเดือน ก็มีความเยอะน้อยไม่เท่ากัน แต่สิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ปัญหาสำหรับการออมเงิน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเราเองทั้งนั้น ใครที่กำลังอยากมีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น ลองไปทำตามวิธีเหล่านี้กัน รับรองว่าถึงจะรายได้น้อย ใช้เงินเก่งยังไงไง ก็ทำให้มีเงินเก็บมากขึ้นกว่าเดิม!
1.เก็บก่อนใช้
เก็บเงินทันทีที่ได้รับเงินเดือน นอกจากเป็นการบังคับตัวเองให้ออมเงิน และกำหนดกรอบค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้อยู่ในจำนวนที่จำกัดแล้ว ยังทำให้ประเมินระยะเวลาในการเก็บเงิน เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจได้ง่ายขึ้นด้วย สำหรับสัดส่วนในการเก็บเงินด้วยวิธีเก็บก่อนใช้ ช่วงแรกหากยังมีรายได้น้อย แนะนำว่าให้เริ่มต้นเก็บประมาณ 10% ของเงินเดือน เช่นถ้าได้เงินเดือน 15,000 บาท ให้หักเก็บทันที 1,500 บาท เพื่อสร้างความคุ้นชินกับการออมเงินก่อน และที่สำคัญไม่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตจนเกินไป
2. จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย
วิธีควบคุมค่าใช้จ่ายที่ได้ผลดีที่สุด ก็คือการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย ไม่ว่าจะมีรายรับ หรือรายจ่ายอะไร ก็ต้องจดลงในบันทึกเสมอ เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าในแต่ละเดือนเราได้เงินมาเท่าไร และใช้จ่ายไปกับเรื่องอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายไหนจำเป็น หรือเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่ทำให้เราเสียเงินทิ้งไปเปล่าๆ เมื่อรู้แล้วให้รีบอุดรอยรั่วตรงนั้น ด้วยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด ก็จะเปลี่ยนมาเป็นเงินออมได้ง่ายขึ้น
3. ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง
ถึงแม้ว่าจะมีเงินเดือนน้อย แต่ถ้าหากใช้การตั้งเป้าหมายร่วมด้วย จะช่วยให้เรามีวินัยในการใช้เงินมากขึ้น โดยเราอาจจะลองตั้งเป้าหมายให้ตัวเองมีเงินเก็บสะสมเท่านี้ในเวลากี่ปี และใช้เป้าหมายนั้นผลักดันตัวเอง เช่น อยากมีเงินแสน ภายใน 2 ปี, อยากมีเงินล้าน ภายใน 10 ปี หรืออยากเก็บเงินไปเที่ยวต่างประเทศ ภายใน 1 ปี จะทำให้เรามีกำลังใจในการออมเงิน แต่อย่าให้กลายเป็นความกดดันจนเกินไป เพราะหากเกิดปัญหาเงินไม่พอใช้ขึ้นมา อาจทำให้แผนการออมเงินพังไม่เป็นท่าได้
4. แบ่งเงินใช้เป็นรายวัน
ข้อดีของวิธีนี้ คือสามารถทำให้เราจำกัดวงเงินในการใช้เงินของเราในแต่ละวันได้ ทำให้เราไม่ใช้เงินเกินตัว หรือใช้เงินฟุ่มเฟือย เราต้องคำนวณก่อนว่า ในแต่ละวันเราใช้เงินเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอื่นๆ เช่น ลองคำนวณมาแล้วว่าเราใช้เงินวันละ 300 บาท ใน 1 อาทิตย์คิดเป็นเงินทั้งหมด 2,100 บาท ก็เบิกเงินมาเลย 2,100 บาท แล้วแบ่งใช้เป็นวันไป แบบนี้ จะช่วยคุมไม่ให้เราใช้จ่ายเกินตัว และไม่เอาเงินไปซื้ออะไรที่ไม่จำเป็น
5. ไม่ใช้แบงค์ 50
เนื่องจากเป็นธนบัตรที่เจอไม่บ่อย การเก็บธนบัตรจำนวนนี้ จึงไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากเท่ากับการเก็บธนบัตรใบละ 20 บาท หรือ 100 บาท
ลองคิดดูว่าถ้าใน 1 อาทิตย์ เก็บธนบัตรอย่างน้อยได้ 4 ใบ 1 เดือนก็จะมีเงินเก็บเพิ่มเดือนละ 800 บาท เมื่อคูณด้วย 12 เดือน เท่ากับ 1 ปีจะได้เงินเก็บประมาณ 10,400 บาทเลยทีเดียว ดังนั้นถ้าอยากมีเก็บเงินเพิ่มขึ้นอีกหน่อย อาจเริ่มจากการท้าทายตัวเอง ด้วยการเก็บธนบัตรใบละ 50 ควบคู่ไปกับการออมเงินปกติดู สนุก และได้ผลดีไปอีกแบบ
6. หยอดกระปุก
ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ 5 หรือเหรียญ 10 บาทก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีมูลค่าน้อย แต่ว่าถ้าเราเก็บเยอะๆ ก็สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เพราะไม่ว่าจะมีมูลค่ามากหรือน้อย ก็ถือว่าเป็นเงิน การที่เราเก็บแบบนี้ อาจจะไม่ได้ทำให้เราร่ำรวย หรือว่ามีเงินมากขึ้นใน 1 ปี แต่เป็นการฝึกนิสัยในการออม และการรู้คุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์
7. หารายได้เสริม
ถึงจะได้เงินเดือนน้อย แต่ถ้ามองหาช่องทางทำรายได้เสริม ก็สามารถมีเงินเก็บได้เป็นกอบเป็นกำเช่นเดียวกัน ลองมองหาช่องทางสร้างรายได้เสริมที่ตัวเองสามารถทำได้โดยไม่กระทบกับงานหลัก เช่น งานพาร์ตไทม์ หรือขายของออนไลน์ และนำรายได้เสริมที่ได้มาเก็บออมเพิ่มด้วย รับรองได้เลยว่าเป้าหมายในการเก็บเงินนั้น ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
ไม่ยากเลยเกินความสามารถเลยใช่มั้ย สำหรับวิธีการที่ Daywork ได้นำฝากกัน ขอแค่เพียงมีวินัย ไม่ว่าจะมีเงินเดือนเท่าไหร่ เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ก็คงอยู่ใกล้ขึ้นกว่าเดิม!
ติดตาม Daywork ได้ที่ช่องทาง
Facebook : www.facebook.com/daywork.th
Website : www.daywork.co
Linkedin : www.linkedin.com/company/daywork-thailand
Blockdit : www.blockdit.com/dayworkthailand