ไม่มีสมองใคร...ถูกออกแบบมาให้โง่ ค้นพบความอัจฉริยะที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา
ไม่มีใครหรอกที่อยากเกิดมาโง่ และ ก็ไม่มีใครที่ถูกออกแบบมาให้โง่เช่นกัน วันนี้ Daywork จึงอยากนำเอา ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence ของ Howard Gardner มาให้ได้อ่านกัน
Howard Gardner กล่าวไว้ว่า "ไม่มีสมองใครถูกออกแบบมาให้..โง่"
ความฉลาดหรือสติปัญญาทำให้คนเราเป็นมนุษย์ พูดได้ เราทุกคนต่างมีความฉลาด เพียงแต่คนเราจะมีด้านที่เด่นบางด้าน ในขณะที่บางด้านด้อย แม้เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ก็สามารถยืดหยุ่นและพัฒนาได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และความฉลาดไม่ได้มีด้านเดียวและบางครั้งใช้ความสามารถหลายๆ ด้านในเวลาเดียวกัน คนเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้หลากหลายเพื่อสังเกตดูว่าอะไรคือ สิ่งที่เด็กชอบหรือถนัด ทำได้ดี แล้วจะรู้ว่าลูกหลานหรือนักเรียนของเราแต่ละคนมีความฉลาดทางด้านใด พหุปัญญาของมนุษย์มี 7 ด้านเป็นหลัก ได้แก่ ภาษา การคิดเลข ดนตรี การเคลื่อนไหวของร่างกาย มนุษยสัมพันธ์ การสังเกตการณ์ และการรู้จักตนเอง และ Howard Gardner ยังเพิ่มเติมมาอีก 2 ข้อ คือ ความฉลาดทางด้านธรรมชาติ และความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ เรามาดูกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาปัญญาในแต่ละด้านกัน~
ปัญญาด้านภาษา
ลักษณะของคนที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านภาษา
- มีนิสัยรักการอ่าน ติดหนังสือ ชอบเขียน ชอบพูด สามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้ดี
- มักจะได้ยินเสียงของคำก้องอยู่ในหูก่อนที่จะได้อ่าน พูด หรือเขียน
- จำชื่อสถานที่ เรื่องราว รายละเอียดต่าง ๆ ได้ดี
- เจ้าบทเจ้ากลอน มีอารมณ์ขัน ตลก ชอบเล่นปริศนา คำทาย
- ชอบพูดเล่นคำ สำนวน คำผวน คำพ้อง
- ชอบเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ มากกว่าคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านภาษา เช่น
- จัดกิจกรรมให้ได้รับประสบการณ์ตรงเพื่อนำมาเขียนเรื่องราว
- จัดกิจกรรมให้ได้พูด ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น ได้เขียนเรื่องราวที่สนใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 3.ครูควรรับฟังความคิดเห็น คำถาม และตอบคำถามด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น
- จัดเตรียมหนังสือ สื่อการเรียนการสอนเพื่อการค้นคว้าที่หลากหลาย เช่น เทปเสียง วิดีทัศน์ จัดเตรียมกระดาษเพื่อการเขียน อุปกรณ์การเขียนให้พร้อม
วิธีการฝึกฝน คือ ให้อ่าน ให้เขียน ให้พูด และให้ฟังเรื่องราวต่างๆ ที่นักเรียนสนใจ อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็น นักพูด นักเล่านิทาน นักการเมือง กวี นักเขียน บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ ครูสอนภาษา
ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
ลักษณะของคนที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
- ชอบทดลองแก้ปัญหา สนุกที่ได้ทำงานกับตัวเลข หรือเกมคิดเลข การคิดเลขในใจ เป็นต้น
- ชอบและมีทักษะในการใช้เหตุผล การซักถามปัญหาให้คิดเชิงเหตุผล
- ชอบทำตามสั่ง ทำอะไรที่เป็นระบบระเบียบตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน
- สนใจข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และวิทยาการต่าง ๆ
- ชอบค้นหาเหตุผลมาหักล้างหรือวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้อื่น
- เชื่อถือเฉพาะแต่สิ่งที่อธิบายได้ มีเหตุผลเพียงพอ
- ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ เช่น
- ให้มีโอกาสได้ทดลอง หรือทำอะไรด้วยตนเอง
- ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์ งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ
- ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์ ตกแต่ง
- ฝึกการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ
- ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
วิธีการฝึกฝน คือ ให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์ วิจารณ์ ฝึกกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบัญชี นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู-อาจารย์ เป็นต้น
ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
ลักษณะของคนที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
- ชอบวาดเขียน มีความสามารถทางศิลป
- ชอบฝันกลางวัน ชอบหลับตาคิดถึงภาพในความคิด จินตนาการ
- ชอบวาดภาพ ขีดเขียนสิ่งต่าง ๆ ลงในกระดาษ สมุดจดงาน
- ชอบอ่านแผนที่ แผนภูมิต่าง ๆ
- ชอบบันทึกเรื่องราวไว้ในภาพถ่ายหรือภาพวาด
- ชอบเล่นเกมต่อภาพ (Jigsaw Puzzles) เกมจับผิดภาพ หรือเกมที่เกี่ยวกับภาพ
- ชอบเรียนวิชาศิลปศึกษา เรขาคณิต พีชคณิต
- ชอบวาดภาพในลักษณะมุมมองที่แตกต่างออกไปจากธรรมดา
- ชอบดูหนังสือที่มีภาพประกอบมากกว่าหนังสือที่มีแต่ข้อความ
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ เช่น
- ให้ทำงานศิลป งานประดิษฐ์ เพื่อเปิดโอกาสให้คิดได้อย่างอิสระ
- พาไปชมนิทรรศการศิลป พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
- ฝึกให้ใช้กล้องถ่ายภาพ การวาดภาพ สเก็ตซ์ภาพ
- จัดเตรียมอุปกรณ์การวาดภาพให้พร้อม จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานด้านศิลป
- ฝึกให้เล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ เกมตัวเลข เกมที่ต้องแก้ปัญหา
- เรียนได้ดีหากได้ใช้จินตนาการ หรือความคิดที่อิสระ ชอบเรียนด้วยการได้เห็นภาพ การดู การรับรู้ทางตา
- ฝึกให้ใช้หรือเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การใช้จินตนาการ
- ให้เล่นเกมเกี่ยวกับภาพ เกมตัวต่อเลโก้ เกมจับผิดภาพ ฯลฯ
วิธีการฝึกฝน คือ การให้ดู ให้วาด ให้ระบายสี ให้คิดจินตนาการ
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นศิลปิน สถาปนิก มัณฑนากร นักประดิษฐ์
ปัญญาด้านการเคลื่อนไหว
ลักษณะของคนที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านการเคลื่อนไหว
- ชอบการเคลื่อนไหว ไม่อยู่นิ่ง ชอบสัมผัสผู้อื่นเมื่อพูดคุยด้วย
- เป็นนักกีฬา กระตือรือร้น ชอบเต้นรำ เล่นละคร หรือบทบาทสมมุติ
- ชอบทำอะไรด้วยตนเองมากกว่าจะให้คนอื่นทำให้ตน
- ชอบทำมือประกอบท่าทางขณะพูดคุย
- ชอบพูดคุยเสียงดัง เอะอะตึงตัง ชอบเล่นหกคะเมนตีลังกากับเพื่อน
- ชอบเล่นเครื่องเล่นที่โลดโผน หวาดเสียว เช่น ชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน รถไฟเหาะตีลังกา ฯลฯ
- ชอบเรียนวิชาพลศึกษา งานประดิษฐ์ ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- ชอบลงมือกระทำจริงมากกว่าการอ่านคู่มือแนะนำหรือดูวิดีโอแนะนำ
- ชอบคิดหรือใช้ความคิดขณะออกกำลังกาย เดิน วิ่ง
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านการเคลื่อนไหว เช่น
- เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส จับต้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปฏิบัติจริง
- สนับสนุนให้เล่นกีฬา การแสดง เต้นรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย
- จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือได้ปฏิบัติจริง
- ให้เล่นเกม เดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย
- ให้เล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง กีฬา การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ
วิธีการฝึกฝน คือ การให้นักเรียนปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง ได้สัมผัส เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ และการเรียนผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ แสดงละคร
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักแสดง นักกีฬา นาฏกร นักฟ้อนรำ นักประดิษฐ์ นักปั้น ช่างซ่อมรถยนต์ ศัลยแพทย์ เป็นต้น
ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
ลักษณะของคนที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
- ชอบมีเพื่อน ชอบพบปะผู้คนร่วมสังสรรค์กับผู้อื่น
- ชอบเป็นผู้นำ หรือมีส่วนร่วมในกลุ่ม
- ชอบแสดงออกให้ผู้อื่นทำตาม ช่วยเหลือผู้อื่น ทำงานหรือประสานงานกับผู้อื่นได้ดี
- ชอบพูดชักจูงให้ผู้อื่นทำมากกว่าจะลงมือทำด้วยตนเอง
- เข้าใจผู้อื่นได้ดี สามารถอ่านกิริยาท่าทางของผู้อื่นได้
- มักจะมีเพื่อนสนิทหลายคน
- ชอบสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นมากกว่าจะอยู่คนเดียวที่บ้านในวันหยุด
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ เช่น
- จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้ากลุ่ม ทำงานร่วมกัน
- ส่งเสริมให้อภิปราย เรียนรู้ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน
- สามารถเรียนได้ดีหากให้โอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
วิธีการฝึกฝน คือ การให้ทำงานร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การจำลองสถานการณ์ บทบาทสมมุติ การเรียนรู้สู่ชุมชน เป็นต้น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบริหาร ผู้จัดการ นักธุรกิจ นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ ครู - อาจารย์
ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง
ลักษณะของคนที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง
- ชอบอยู่ตามลำพังคนเดียวเงียบ ๆ คิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
- ติดตามสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ มีแรงจูงใจสูง
- มีอิสระในความคิด รู้ตัวว่าทำอะไร และพัฒนาความรู้สึกนึกคิดอยู่เสมอ
- ชอบใช้เวลาว่างในวันหยุดอยู่คนเดียวมากกว่าที่จะออกไปในที่มีคนมาก ๆ
- เข้าใจตนเอง หมกมุ่นอยู่กับความรู้สึก ความคิดและการแสดงออกของตัวเอง
- ชอบทำอะไรด้วยตนเองมากกว่าที่จะคอยให้คนอื่นช่วยเหลือ
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง เช่น
- เปิดโอกาสให้ทำงานตามลำพัง ทำงานคนเดียว อิสระ แยกตัวจากกลุ่มบ้าง
- สอนให้เห็นคุณค่าของตัวเอง นับถือตัวเอง (self esteem)
- สนับสนุนให้ทำงานเขียน บันทึกประจำวัน
- สนับสนุนให้ทำโครงงาน การศึกษารายบุคคล หรือทำรายงานเดี่ยว
- ให้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ตามจังหวะการเรียนเฉพาะตน
- ให้อยู่กับกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อื่นบ้าง
ยุทธศาสตร์ในการสอน ควรเน้นที่การเปิดโอกาสให้เลือกศึกษาในสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ การวางแผนชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่น การศึกษารายบุคคล (Individual Study)
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพอิสระ เป็นเจ้าของกิจการ เป็นนายจ้างของตัวเอง นักคิด นักเขียน นักบวช นักปรัชญา นักจิตวิทยา ครู – อาจารย์
ปัญญาด้านการคิดใคร่ครวญ
ลักษณะของคนที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านการคิดใคร่ครวญ ชอบคิด สงสัยใคร่รู้ ตั้งคำถามกับตัวเองในเรื่องความเป็นไปของชีวิต ชีวิตหลังความตาย เรื่องเหนือจริง มิติลึกลับ เช่น นักคิดอย่าง อามิ อริสโตเติล ขงจื้อ ไอน์สไตน์ พลาโต โสเครติส นอกจากนี้แล้ว การ์ดเนอร์เคยคิดจะนำ ความฉลาดทางด้านคุณธรรมจริยธรรม (Moral intelligence) เพิ่มเข้าไปด้วย ซึ่งในสังคมปัจจุบันเราเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง
สรุป
เป็นยังไงกันบ้างกับปัญญาในแต่ละด้านตามแบบฉบับของ Howard Gardner ลองมาสังเกตตัวเอง ลองทำแบบทดสอบ และค้นหาจุดเด่นทางปัญญาของตัวเองเพื่อนำไปพัฒนาให้ตรงจุดกันดีกว่า การพัฒนาที่ตรงจุดจะทำให้เราโดดเด่นและเก่งยิ่งขึ้นไปอีกในด้านนั้นๆ การทำงานพาร์ทไทม์ก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการค้นหาและพัฒนาตนเองได้อีกทางหนึ่งด้วยนะ หากมีเวลาว่างอยากให้ลองทำงานพาร์ทไทม์ดูสักงาน ลองดูว่าชอบไหม ทำได้หรือเปล่า การทำงานพาร์ทไทม์ดูสักงานนั้นเราจะได้ทั้งประสบการณ์การทำงานและยังได้รายได้อีกด้วย ลองโหลดแอป Daywork เอาไว้ส่องงานพาร์ทไทม์ที่น่าสนใจก่อนก็ได้นะและถ้าอยากลองทำงานไหนก็กดสมัครเลยยย อ่านรีวิวการทำงาน จากคนที่เคยรับงานในแอปก่อนได้นะ
อ่านเคล็ดลับ ทำเรซูเม่ยังไงให้เด็ด ที่นี่
อ่านความรู้เกี่ยวกับ ภาษี ณ ที่จ่าย
ส่อง 10 อันดับ เงินเดือนพนักงานพาร์ทไทม์ร้านดัง
ขอบคุณข้อมูลจาก Yourneek
ติดตามข่าวสารของเราได้ที่
Facebook: Daywork : บริการสรรหา งานพาร์ทไทม์ หาคนทำพาร์ทไทม์
LINE: @daywork
Twitter: @DayworkOfficial