การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร และ ทำไมถึงต้องหัก ?

07 August 2020
น้อง ๆ หรือ ใครหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไม ยอดเงินที่ได้จริงถึงน้อยกว่ายอดเงินที่ระบุไว้ในรายละเอียดการจ้างงานตามที่ตกลงกันไว้เล็กน้อย อย่าพึ่งตกใจไป เพราะโดยปกติแล้ว เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ การหักภาษี ณ ที่จ่าย นั่นเอง และ การหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนก็คงได้ยินกันบ่อย ๆ อยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจและไม่รู้ว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร? และ ทำไมถึงต้องหัก? วันนี้ Daywork จะพามาดูกัน
การหารายได้ในปัจจุบันนั้นไม่ได้จำกัดอายุ ปัจจุบันมีช่องทางในการหารายได้พิเศษหลากหลาย อย่างการทำงานพาร์ทไทม์, ขายของออนไลน์, เปิดช่อง Youtube, เป็น Blogger การทำงานจึงไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่อีกต่อไป ทำให้น้องๆ หลายคนอาจเริ่มสงสัยว่า “ในกรณีที่อายุยังไม่ถึง แต่มีรายได้ ต้องเสียภาษีเหมือนผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้วหรือไม่?
หัวข้อสำคัญ
อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า “การยื่นภาษี หรือ เสียภาษี ไม่เกี่ยวกับอายุ”
การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร ?
ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำ หักภาษี ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง ?
เรื่องที่เรามักเข้าใจผิดอยู่บ่อย ๆ
มีรายได้ แต่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยื่นภาษีเองได้มั้ย?
อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า “การยื่นภาษี หรือ เสียภาษี ไม่เกี่ยวกับอายุ”
เรามักจะเข้าใจผิดว่า ต้องเรียนจบ มีงานทำก่อนนะถึงจะต้องเสียภาษี ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเสียภาษีนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุ หรือ มีการจำกัดอายุแต่อย่างใด การเสียภาษีในทที่นี้นั้นเป็นเรื่องของรายได้ที่ได้ในแต่ละปีมากกว่า
การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร ?
คือการที่ผู้จ่ายเงิน ได้หักเงินของผู้รับเงินไว้ทันทีที่จ่ายเงิน ตามอัตราที่กำหนด และนำเงินที่หักไว้ส่งกับกรมสรรพากร ซึ่งผู้รับเงินสามารถนำยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายนี้ไปรวมกับภาษีที่ต้องจ่ายตอนปลายปี ถ้าคำนวณแล้วจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายเกินก็ชำระเงินเพิ่ม แต่ถ้าจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายน้อยกว่าก็สามารถทำเรื่อง ขอคืนภาษีได้
ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำ หักภาษี ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง ?
แต่ละประเภทของค่าใช้จ่ายนั้นจะถูก หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน โดยแบ่งจากผู้รับเงินได้ เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. บุคคลธรรมดา : หักภาษี ณ ที่จ่าย กับผู้รับเงินที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้แบบ ภ.ง.ด. (ภาษีเงินได้บุลคลธรรมดา)
2. นิติบุคคล : หักภาษี ณ ที่จ่าย กับผู้รับเงินที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ใช้แบบ ภ.ง.ด.53 มีรายละเอียดดังนี้
เรื่องที่เรามักเข้าใจผิดอยู่บ่อย ๆ
โดยทั่วไปเรามักเข้าใจผิดว่าตัวเองมีรายได้แล้วถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปตอนรับเงิน หมายความว่าตัวเราเองทำหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว เลยไม่ยื่นภาษี ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะโดยปกติการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะยังไม่ถือว่าเป็นภาษีสุดท้ายแต่เป็นเพียงการจ่ายภาษีล่วงหน้าในบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหลายคนยังเข้าใจผิดอยู่มาก โดยเฉพาะตอนรับรางวัลลุ้นโชคต่างๆ คิดว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% แล้วจบเลย
ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะได้รับรางวัลแล้วเรายังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีตามกฎหมายอยู่ เว้นแต่ว่าเงินได้ของเราจะเข้าข่ายได้รับยกเว้นให้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไม่ต้องยื่นภาษีก็ได้ เช่น เงินปันผลจากหุ้น/กองทุนรวม ดอกเบี้ย เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
สรุป การที่เราโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย จากที่เราไปทำงานนั้นเป็นเรื่องปกติที่นายจ้าง ผู้จ้าง หรือผู้ที่ต้องจ่ายเงินให้เรา ต้องมีการหักและนำส่ง ภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับกรมสรรพากร เพราะหากไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะเป็นกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยถ้าเราอยากได้เงินคืนจากที่โดนหักไปนั้น เราสามารถไปทำเรื่อง ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย(link วิธีขอคืน ภาษี ณ ที่จ่าย) ได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเป็นสถานที่ยื่นคำร้องขอคืน ในเขตท้องที่ของผู้มีสิทธิขอคืนภาษี
การยื่นภาษีไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด “การยื่นภาษี” ไม่ได้หมายความว่าเราต้อง”เสียภาษี”เสมอไป ถ้าหาก”รายรับสุทธิ” ของเราหลังจากหักส่วนลดภาษีแล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะการที่เรายื่นภาษีนั้นหมายถึงเราได้แสดงความรับผิดชอบต่อการจ่ายภาษีที่ทุกๆ คนจะต้องจ่าย ซึ่งโดยปกติแล้วผู้เสียภาษีจะต้องทำการยื่นภาษีเงินได้ปีละ 1 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก ธรรมนิติ และ iTAX
ติดตามข่าวสารของเราได้ที่
Facebook: daywork.th
LINE: @daywork
Twitter: @DayworkOfficial